ศาลาพระแก้วมรกตและพระแก้วหยกขาวจักรกกรด

วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ศาลาพระแก้วมรกตและพระแก้วหยกขาวจักรกรด(ธรรมทานจาก สุธี ศรีพระรัตนตรัย 5)

เปรตรอรับส่วนบุญจากพระเจ้าพิมพิสาร


          ถ้าบุคคลพึงรู้ว่าตนเป็นที่รัก ไม่พึงประกอบด้วยบาป เพราะว่าความสุขนั้นไม่เป็นผลที่บุคคลผู้ทำชั่วจะพึงได้โดยง่าย อย่างเช่นญาติของพระเจ้าพิมพิสารที่ได้มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎก  
        ใน91กัปที่แล้วพระเจ้าพิมพิสารได้เกิดในยุคสมัยของพระวิปัสสีพระพุทธเจ้า ในครั้งนั้นญาติของพระเจ้าพิมพิสารได้แอบกินของที่พระเจ้าพิมพิสารได้เตรียมไว้ก่อนทีจะนำไปถวายพระพุทธเจ้า ด้วยผลของกรรมนั้นได้ส่งผลให้ต้องไปเกิดอยู่ในนรกทนทุกข์ทรมานอยู่เป็นเวลาช้านาน พอพ้นจากนรกมาได้ ก็ต้องมาเกิดเป็นปรทัตตูปชีวีเปรต ต้องเปรยกาย อดข้าวอดน้ำอยู่เป็นเวลาช้านาน จนมาถึงยุคของพระกกุสันธพระพุทธเจ้า เปรตพวกนั้นก็พากันมาทูลถามพระพุทธเจ้าว่า เมื่อไหร่ถึงจะได้บริโภคอาหารและมีเสื้อผ้านุ่งห่มกันเสียที พระกกุสันธพระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสว่ารอให้สิ้นศาสนาของเราไปแล้วนานประมาณแผ่นดินสูง 1 โยชน์ จะมีพระพุทธเจ้าองค์ที่2ชื่อพระโกนาคมน์พระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ พวกท่านจงไปถามเถิด เปรตทั้งหลายก็ทนทุกข์ทรมานรออยู่นานแสนนาน จนมาถึงยุคของพระโกนาคมน์พระพุทธเจ้า เปรตทั้งหลายก็ได้เข้าไปทูลถามเช่นเดิม พระโกนาคมน์พระพุทธเจ้า จึงตรัสว่ารอให้สิ้นศาสนาของเราไปแล้วนานประมาณแผ่นดินสูง 1 โยชน์ จะมีพระพุทธเจ้าองค์ที่3ชื่อพระก้สสปพระพุทธเจ้า พวกท่านจงไปถามเถิด เปรตทั้งหลายก็ทนทุกข์ทรมานรอคอย จนมาถึงยุคของพระก้สสปพระพุทธเจ้า เปรตทั้งหลายก็ได้เข้าไปทูลถามเช่นเดิม พระกสสปพระพุทธเจ้าจึงตรัสว่ารอให้สิ้นศาสนาของเราไปแล้วนานประมาณแผ่นดินสูง 1 โยชน์ จะมีพระพุทธเจ้าองค์ที่4ชื่อพระโคดมพระพุทธเจ้ามาอุบัติขึ้นในโลก ญาติของท่านชื่อพระเจ้าพิมพิสารจะถวายทานแด่พระพุทธเจ้าแล้วจะอุทิศกุศลนั้นแก่พวกท่าน พวกท่านก็จะได้รับประทานอาหารนั้น พวกเปรตทั้งหลายพอได้ฟังเช่นนั้นก็มีความเกษมสันต์หรรษาราวกับว่าจะได้บริโภคอาหารในวันพรุ่งนี้เลยทีเดียว ครั้นกาลเวลาร่วงเลยมาเนิ่นนานแสนนาน ก็มาถึงยุคของพระโคดมพระพุทธเจ้า ในครั้งนั้นพระเจ้าพิมพิสารได้มีจิตศรัทธาสร้างเวฬุวันวิหารถวายแด่พระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย แต่ในระหว่างที่ทำพิธีถวายวิหารหลังนั้นไม่ได้อุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติของตน จึงทำให้พวกเปรตที่เป็นญาติทั้งหลายขาดการอนุโมทนา ไม่ได้รับประทานอาหาร จึงพากันเศร้าโศกเสียใจ และในคืนว้นนั้นก็พากันร้องไห้ด้วยเสีงดังตลอดทั้งคืน พระเจ้าพิมพิสารได้ยินเสียงร้องของพวกเปรตเหล่านั้น นอนไม่หลับ พอรุ่งเช้าจึงได้ไปทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธองค์จึงตรัสว่า เสียงที่ได้ยินนั้นเป็นเสียงร้องของเปรตที่เป็นญาติขอมหาบพิตร ที่ได้เคยทำบาปไว้ ในยุคสมัยของพระวิปัสสีพระพุทธเจ้า ได้แอบกินของที่มหาบพิตรได้เตรียมไว้ถวายทานแด่พระวิปัสสีพระพุทธเจ้า ผลของบาปกรรมนั้นได้ส่งผลให้พวกเขาทั้งหลาย ต้องไปเป็นเปรตเปรยกาย อดข้าวอดน้ำอยู่อย่างนานแสนนาน และรอรับการอุทิศส่วนบุญจากท่าน แต่ท่านลืมอุทิศให้พวกเขาทั้งหลาย พวกเขาทั้งหลายจึงพากันเศร้าโศกเสียใจ ร้องไห้ พระเจ้าพิมพิสารเมื่อได้ฟังเช่นนั้น ในวันต่อมาจึงได้ถวายทานแด่พระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายแล้วอุทิศส่วนกุศลให้แก่พวกเปรตที่เป็นญาติทั้งหลาย เปรตทั้งหลายก็ได้อนุโมทนาสาธุ ทันใดนั้นเอง ก็ไดัรับบริโภคอาหารกันอย่างอิ่มหนำสำราญ แต่ก็ยังไม่มีผ้านุ่งห่ม จึงได้แสดงตนให้พระเจ้าพิมพิสารเห็น พระเจ้าพิมพิสารจึงได้บริจาคไตรจีวรเครื่องอัฐบริขารแล้วอุทิสให้ เปรตทั้งหลายก็ได้ผ้านุ่งห่มสมความปรารถนา ร่างกายก็กลายสภาพจากเปรตกลายเป็นเทพบุตร เทพธิดา และหลุดพ้นจากเปรตไปสู่สวรรค์ในทันที   
        ฉะนั้นจะเห็นกันได้ว่ากรรมของตนที่ทำไว้ นำบุคคลที่มักประพฤติล่วงปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาไปทุคติ เหมือนสนิมเหล็กนั่นแหละเมื่อเกิดขึ้นจากเหล็กนั้นแล้ว ย่อมกัดเหล็กนั้นนั่นเองฉะนั้น

     จะไม่ยอมก้มหน้ารอรับลิขิตจากท้องฟ้า รอรับคำบัญชาจากสวรรค์ จะขอลิขิตชีวิตเราเองทุกคืนทุกวัน ด้วยกุศลกรรมที่ตั้งมั่น ไม่หวั่นไม่เกรง
ปรัชญาชีวิตจาก...สุธี ศรีพระรัตนตรัย

ธรรมะย่อมชนะอธรรม


        การบูชาสักการะบุคคลที่ควรบูชานั้นมี2ลักษะด้วยกัน คืออามิสบูชาหมายถึงการบูชาสักการะด้วยวัตถุสิ่งของ เช่นดอกไม้ ธูปเทียน อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย ส่วนการบูชาอีกอย่างหนึ่งได้แก่ปฎิบัติบูชาหมายถึงการประพฤติปฎิบัติธรรมด้วยการเจริญสมถะภาวนาคือการฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ กับการเจริญวิปัสสนาภาวนาคือคือการฝึกอบรมปัญญาให้รู้แจ้งเห็นจริงตามสภาวะ ผู้บูชานั้นย่อมได้รับอนิสงส์ที่ยิ่งใหญ่สุดที่จะประมาณมิได้ ดั่งเช่นเรื่องที่พระโพธิสัตว์ได้บำเพ็ญมาแล้วในอดีตชาติดั่งได้มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎก        
         ในอดีตกาล ในสมัยของพระเจ้าพรหมทัต ณ.กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในตระกลูเศรษฐี ได้สร้างศาลาบำเพ็ญทานขึ้น ๖ แห่ง และรักษาศีลอุโบสถตามกาลอยู่เสมอ อยู่มาวันหนึ่งพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งพึ่งออกจากนิโรธสมาบัติใหม่ๆ เที่ยวโปรดสัตว์มาถึงประตูเรือนของท่านเศรษฐี พอท่านเศรษฐีเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์นั้นจึงรีบลุกขึ้นแล้วสั่งให้คนรับใช้ไปรับบาตรของพระปัจเจกพุทธเจ้ามาเพื่อที่จะตักบาตรถวายภัตราหาร ขณะนั้นพญามารผู้มีใจบาปเห็นการกระทำเช่นนั้นก็โกรธ คิดในใจว่าพระปัจเจกโพธิองค์นี้ถ้าไม่ได้รับอาหารเป็นไม่รอดแน่ เราจะทำลายพระปัจเจกโพธิองค์นี้ให้ได้ จึงได้เนรมิตหลุมถ่านเพลิงลึกประมาณ ๘๐ ศอก ลุกโพลงอยู่ตลอดเวลาไว้ตรงหน้าพระปัจเจกโพธิ แล้วก็ยืนอยู่บนอากาศ ฝ่ายท่านเศรษฐีเห็นเช่นนั้นก็รู้ว่าพยามารมาขัดขวางการบำเพ็ญกุศลในครั้งนั้ คิดในใจว่าวันนี้คงได้รู้กันว่าระหว่างเรากับพยามารใครจะมีอานุภาพมากกว่ากัน คิดเช่นนั้นแล้วจึงยกภาชนะอาหารออกจากเรือนเดินตรงไปยังพระปัจเจกพระพุทธเจ้า ไปยืนอยู่ที่ปากหลุมถ่านเพลิง เห็นพระยามาร พระยามารบอกว่าหลุมถ่านเพลิงนี้เราเป็นผู้เนรมิตขึ้นมาเอง พระโพธิสัตว์กล่าวกับพยามารว่า ดูก่อนมารเราจะไม่ยอมให้ทำอันตรายแก่ทานและชีวิตของเราและพระปัจเจกพระพุทธเจ้าได้ วันนี้แหละเราคงจะได้เห็นดีกัน ถึงข้าพเจ้าจะตายก็จะไม่ยอมถอยหลัง แล้วหันหลังไปกราบเท้าพระปัจเจกพระพุทธเจ้า แล้วพูดว่า ขอท่านได้โปรดรับอาหารบิณฑบาตของข้าพเจ้าเถิด ถึงข้าพเจ้าจะหัวห้อยลงไปในหลุมนรกก็ตามเถิด ข้าพเจ้าก็จะไม่ทำบาป ขอได้โปรดรับบิณฑบาตนี้ด้วยเถิดเจ้าข้า กล่าวจบเศรษฐีก็ถือสำรับอาหารเดินผ่านหลุมถ่านเพลิงในทันที ทันใดนั้นดอกบัวใหญ่บานก็ผุดขึ้นจากหลุมถ่านเพลิงรองรับเท้าทั้งสองของพระโพธิสัตว์ไว้มิให้ต้องได้รับความร้อนเลยแม้แต่น้อยนิดเดียว พระโพธิสัตว์ก็ได้ตักบาตรสมความปรารถนา พระปัจเจกพุทธเจ้าทรงรับอาหารนั้นแล้วกระทำอนุโมทนา แล้วทรงเหาะกลับไปยังป่าหิมพาน ท่ามกลางความตื่นตะลึงของมหาชนทั้งหลายที่ได้ประสบเหตุการณ์นั้น พญามารเมื่อพ่ายแพ้แล้วจึงหายตัวกลับไปยังที่อยู่ของตน ฝ่ายเศรษฐีซึ่งยืนอยู่บนดอกบัวจึงกล่าวธรรมถึงการบำเพ็ญทานและการรักษาศีลแก่มหาชนที่มาชุมนุมเหล่านั้น และต่างพากันสร้างบุญกุศลไปจนตลอดชีวิต
       เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประชุมชาดกว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าในครั้งนั้นได้ปรินิพพานแล้ว ส่วน"เศรษฐี"ชาวเมืองพาราณสีในครั้งนั้น ก็ได้มาเป็นเราตถาคตนั้นแล

ถ้าจะบีบบังคับให้เรายอมพ่ายแพ้และยอมจำนน ก็จะขอนั่งสวดมนต์ปล่อยให้รอต่อไป
ปรัชญาชีวิตจาก...สุธี ศรีพระรัตนตรัย



กระต่ายบัณฑิตผู้ให้ชีวิตเป็นทาน
        บุคคลพึงสละทรัพย์เพื่อจะรักษาอวัยวะ พึงยอมสละอวัยวะเพื่อจะรักษาชีวิต และยอมสละทุกอย่างทั้งอวัยวะ ทรัพย์และแม้ชีวิต เพื่อรักษาธรรมอย่างเช่นเรื่่องกระต่ายบัณฑิตที่ได้มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎก
      ในครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้ประทับอยู่ที่วิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรฐี ในคร้งนั้นมีคหบดีผู้หนึ่ง มีจิตศรัทธาถวายทานแด่พระภิกษุสงฆ์เป็นจำนวนมาก พระพุทธองค์ทรงอนุโมทนาบุญกับคหบดีผู้นั้น แล้วทรงตรัสว่าท่านจงปิติโสมนัสเถิด เพราะนี่ชื่อว่าท่านได้ทำตามประเพณีของบัณฑิตตามโบราณกาล แล้วตรัสเล่าเรื่องกระต่ายมาตรัสเล่าให้ฟัง
     ในครั้งที่พระโพธิสัตว์เกิดเป็นกระต่ายอาศัยอยู่ในป่าแห่งหนึ่ง มีสัตว์เป็นเพื่อนกันอัก ๓ ตัว คือ ลิง สุนัขจิ้งจอก และนาก สัตว์ทั้ง 3 ทุกเย็นจะมาฟังโอวาทของกระต่ายเสมอ ต่อมาวันหนึ่ง กระต่ายมองดูดวงจันทร์รู้ว่าพรุ่งนี้จะเป็นวันอุโบสถจึงให้โอวาท ว่า " วันพรุ่งนี้ พวกเราจงพากันรักษาศีล ให้ทานเถิด สัตว์ทั้ง ๓ รับคำแล้วกลับไปยังที่อยู่ของตน ครั้นพอว้นรุ่งขึ้นกระต่ายรักษาศีลอยู่ในที่อยู่ของตนไม่ได้ออกไปหาอาหารมาไว้ให้ทาน คืดอยู่ในใจว่าวันนี้ถ้ามีใครมาขออะไรจากเรา เราไม่มีอะไรจะให้เป็นทาน เราจะให้เนื้อของเราแก่เขาเป็นทานก็แล้วกัน คิดดั่งนี้แล้วก็นอนรักษาศีลอยู่ ด้วยอานุภาพแห่งศีลของกระต่ายเป็นเหตุให้บรรลังก์ของเท้าวสักกะเทวราช(พระอินทร์)เร่าร้อน ท้าวเธอจึงลงมาพิสูจน์คุณของกระต่าย จึงแปลงร่างเป็นพราหมณ์ไปยังที่อยู่ของกระต่าย กระต่ายเห็นพราหมณ์จึงได้ทักทายและสอบถามว่ามาที่นี่มีธุระอะไร พอรู้ว่าพราหมณ์มาขออาหาร ก็ดีใจจึงพูดกับพราหมณ์ว่า "เราไม่มีอาหารอะไรที่จะให้กับท่านหรอก นอกจากเนื้อของเรานี่แหละ ขอเชิญท่านบริโภคเราเถิด จากนั้นจึงบอกให้พราหมณ์ช่วยก่อกองไฟ หลังจากที่พราหมณ์ก่อกองไฟเสร็จแล้ว กระต่ายก็ลุกขึ้นจากหญ้าแพรกสลัดขนไล่สัตว์ที่ติดตัวออก แลัวกระโดดเข้ากองไฟ แต่ไฟกับเย็น ไม่ร้อน ไม่สามารถไหม้กระต่ายได้ กระต่ายจึงได้ถามพราหมณ์ พราหมณ์จึงได้กล่าวกับกระต่ายว่า"ท่านบัณฑิต เรามิใช่พราหมณ์ดอก เราเป็นท้าวสักกะเทวราช มาเพื่อทดลองศีลของท่านเท่านั้นเอง" กระต่ายพูดว่า "ท่านท้าวสักกะ ท่านหวังจะทดลองข้าพเจ้าเท่านั้นเองหรือ แล้วชาวโลกจะรู้ว่าข้าพเจ้าปรารถนาให้ชีวิตเป็นทานได้อย่างไรกันเล่า" ท้าวสักกะเทวราชตอบว่า "คุณความดีในการเสียสละชีวิตเป็นทานของท่านครั้งนี้จะมีปรากฏตลอดไป" ว่าแล้วก็เขียนรูปกระต่ายไว้บนดวงจันทร์เป็นสัญลักษณ์ให้ชาวโลกได้เห็นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แล้วก็หายวับกลับเทวโลกไป สัตว์ทั้ง ๔ ตัวได้รักษาศีลจนตราบสิ้นชีวิตแล้วไปเกิดในเทวโลก
     เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาจบลง คหบดีผู้ถวายทานในครั้งนั้น ก็ได้บรรลุพระโสดาบัน สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลนั้นแล

         เรื่องนี้จัดเป็นทานปรมัตถบารมี(บริจาคชีวิตเป็นทาน) ที่พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญมาในปุเรชาติ มีนัยดังกล่าวมาแล้วด้วยประการฉะนี้

      หมั่นทำบุญ เพียรละบาป และอย่าประมาทในกาลเวลา เพราะเวลาของชีวิต ก็เหมือนกับแสงเปลวเทียนที่มีจำกัด ไม่รู้ว่าจะดับลงเมื่อใด
ปรัชญาชีวิตจาก...สุธี ศรีพระรัตนตรัย

บุพกรรม(กรรมเก่า)ของกา


          ในครั้งพุทธกาล พระบรมศาสดาประทับอยู่ในวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษ ในครั้งนั้นแลเหล่าบรรดาพระภิกษุหลายรูปได้เที่ยวจารึกบิณฑบาตไปในตำบลแห่งหนึ่ง ได้พบเห็นหญิงคนหนึ่งหุงข้าวทำอาหาร ไฟได้ลุกไหม้ขึ้นที่เสวียนในครัว หญิงนั้นจึงได้ใช้ไม้เขี่ยเสวียนหญ้าที่กำลังติดไฟ เสวียนหญ้านั้นจึงได้ลอยขึ้นไปในอากาศ ในขณะนั้นเองได้มีกาตัวหนึ่งบินมาทางนัันได้สอดคอเข้าไปในเสวียนหญ้าอันไฟลุกอยู่พอดี ทำให้กาตัวนั้นถูกไฟไหม้ตกลงมาตายที่กลางหมู่บ้านนั้นเอง
        เหล่าบรรดาพระภิกษุทั้งหลายเห็นเหตุนั้น ประหลาดใจ คิดว่า " โอ กรรมหนักหนอ หลังจากที่บิณฑบาตเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้ไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทูลถามถึงบุพกรรมของกาตัวนั้น
       พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงตรัสแก่เหล่าบรรดาพระภิกษุเหล่านั้นว่า กาตัวนั้นได้เสวยผลกรรมที่ตนได้ทำแล้วนั่นแลโดยแทั เพราะในอดีตชาติ กาตัวนั้นได้เกิดเป็นชาวนาในกรุงพาราณสี ได้ฝึกโคของตน แต่ไม่อาจฝึกได้ ด้วยว่าโคของเขานั้นเดินไปได้หน่อยหนึ่งแล้วก็นอนเสีย แม้เขาจะตีให้ลุกขึ้นแล้ว แต่พอเดินไปได้หน่อยหนึ่งก็กลับนอนเสียอีก ชาวนานั้นโกรธ จึงกล่าวว่า ‘เจ้าจักนอนให้สบายตั้งแต่นี้ต่อไป’ ชาวนานั้นจึงไปเอาฟางข้าวมาผูกพันคอของโค แล้วก็จุดไฟ โคนั้นจึงถูกไฟเผาตายในที่นั้นเอง และด้วยผลของกรรมที่มีในครั้งนั้นนั่นเอง ก็ได้ส่งผลให้ชาวนานั้นต้องไปตกอยู่ในนรกสิ้นกาลนาน พอพ้นจากนรกขึ้นมาได้ ก็ได้มาเกิดเป็นกา เขาเกิดเป็นกามาแล้วถึง ๗ ครั้ง และทุกครั้งก็ถูกไฟเผาไหม้ตายอย่างนี้ทุกครั้งแล
       ฉะนั้นจะเห็นกันได้ว่า บุคคลใดที่ทำกรรมชั่วไว้ ถึงแม้จะหนีขึ้นไปอยู่ในอากาศ หรือจะหนีขึ้นไปอยู่ท่ามกลางมหาสมุทร หรือจะหนีขึ้นไปอยู่ในซอกแห่งภูเขา ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วที่ตนทำไว้ได้ เพราะเขาได้ชื่อว่าอยู่ในผืนดินแห่งความชั่วที่ตนได้ทำไว้แล้วนั่นเอง

     ภัยทั้งหลายที่น่ากลัว ไม่เท่าศัตรููใกล้ตัวในคราบมิตร ข้างหลังถือมีดดาบ ข้างหน้าปาดด้วยรอยยิ้ม พร้อมที่จะทิ่มแทงเราให้ได้รับอันตรายได้ทุกเมื่อ
ปรัชญาชีวิตจาก...สุธี ศรีพระรัตนตรัย

อานิสงส์ของการบูชาพระเจดีย์ด้วยดอกมะลิ
 

   ในกาลสมัยของพระปทุมุตตระพระพุทธเจ้า ในครั้งนั้นหลังจากที่พระพุทธองค์ได้เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว มหาชนทั้งหลายต่างบูชาพระพุทธองค์ ด้วยการช่วยกันก่อสร้างเจดีย์ที่ทำด้วยทองคำ สูง 1 โยชน์ ชายคนหนึ่งปรารถนาที่จะบูชาพระเจดีย์ด้วยดอกไม้ แต่หาซื้อไม่ได้ ครั้นเห็นดอกมะลิกิ่งหนึ่ง จึงขอซื้อมะลิกิ่งนั้นด้วยราคาที่แพงลิบลิ่วทีเดียว เพราะคนขายโก่งราคาสูงมาก แต่ด้วยจิตที่เลื่อมใสศรัทธาในพระรัตนตรัย ทำให้ท่านตัดสินใจซื้อเพื่อแลกกับการได้บูชาพระรัตนตรัย
        ขณะที่เดินถือดอกมะลิไปบูชาพระเจดีย์นั้น ท่านบังเกิดปีติโสมนัสทุกๆย่างก้าว เมื่อไปถึงก็ถือกิ่งมะลิเวียนประทักษิณ ๓ รอบ แล้วทำการบูชานอบน้อมด้วยความเลื่อมใส และด้วย
อานิสงส์ผลบุญที่ท่านได้บูชาพระเจดีย์ด้วยดอกมะลิในครั้งนั้นนั่นเอง เมื้อสิ้นชีพลง ก็ส่งผลให้ท่านไปเกิดในเทวโลก เสวยสุขอยู่ในสวรรค์นานถึง ๘๐ โกฏิปี ครั้นเมื่อจุติจากเทวโลกแล้ว ก็ได้มาเกิดในยุคสมัยของพระสมณโคดมพระพุทธเจ้าของเรา ท่านเกิดเป็นพระกุมารในแคว้นมัลละ เป็นผู้มีกลิ่นกายหอมเหมือนดอกมะลิ ผิวพรรณวรรณะก็เปล่งปลั่งผ่องใสมากเป็นพิเศษ เมื่อได้ยินข่าวว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้วในโลก กำลังประทับอยู่ที่สวนอัมพวันของนายจุนทะ ท่านบังเกิดความเลื่อมใสศรัทธา ปรารถนาอย่างยิ่งที่จะไปฟังธรรมจากพระพุทธองค์ จึงรีบชักชวนข้าทาสบริวารทั้งหลายไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อฟังธรรม ครั้นพอได้ฟังธรรมแล้วก็ยิ่งเกิดปิติโสมนัส เกิดศรัทธามากยิ่งขึ้น จึงตัดสินใจออกบวช ท่านบวชและได้บำเพ็ญเพียรได้ไม่นานเท่าใดนัก ก็ขจัดกิเลสที่มีในใจได้หมดสิ้น และได้บรรลุธรรม สำเร็จเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา มีฤทธิ มีเดช มีอานุภาพมาก และมีกลิ่นกายที่หอมเหมือนดอกมะลิ มีนามว่าขัณฑสุมนะนั่นแล
         ฉะนั้นจะเห็นกันได้ว่า การบูชาพระพุทธองค์นั้น ย่อมได้รับอานิสงส์ที่ยิ่งใหญ่สุดที่จะประมาณมิได้ ถ้าหากผู้บูชามีใจที่เลื่อมใสศรัทธาจริงๆ แม้พระบรมศาสดาจะทรงพระชนม์ชีพอยู่หรือดับขันธปรินิพพานไปแล้วก็ตาม ผู้บูชาย่อมได้รับอานิสงส์แห่งการบูชานั้นเสมอกัน


      อย่าประมาทในกาลเวลา อย่ารอช้ารีบสะสมบุญอย่างเนืองนิตย์ เพราะชีวิตก็เหมือนกับผลมะม่วงที่อยู่บนต้น ไม่รู้ว่าจะหล่นลงมาเมื่อใด บางผลก็สุกคาต้นแล้วจึงหล่นลงมาแน่ๆ(หมดทั้งอายุขัยและหมดกรรม) บางผลยังดิบอยู่แท้ๆ กล้บต้องหล่นลงมาเพราะแพ้พายุและสายลม(ยังไม่หมดอายุขัยแต่ผลของอกุศลกรรมในอดีตมาตัดรอนเอาชีวิตไป)
ปรัชญาชีวิตจาก...สุธี ศรีพระรัตนตรัย

มัณฑุกเทพบุตร


         สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่ประชาชนชาวนครจำปา ที่ริมฝั่งสระคัคครา ในขณะที่แสดงธรรมอยู่นั้น ก็มีกบต้วหนึ่งได้ขึ้นจากน้ำมาบนสระ ได้ยินเสียงธรรมเทศนาของพระพุทธองค์ที่มีสุรเสียงดังกังวาลไพเราะเสนาะจับใจ เกิดเคลิ้มในเสียง ในขณะนั้นเองก็มีคนเลี้ยงโคคนหนึ่งได้เดินทางมาฟังธรรม ณ.ที่นั้นด้วย คนเลี้ยงโคยืนฟังธรรมโดยใช้ไม้ที่ใช้ไล่ต้อนฝูงโคยืนค้ำลงที่พื้นเพื่อฟังธรรม แต่หารู้ไม่ว่าไม้ที่ค้ำลงนั้น ไม่ได้ค้ำลงที่พื้นหรอก แต่ดันไปกดค้ำลงบนศีรษะของกบตัวนั้น ทำให้กบตัวนั้นถึงแก่ความตาย และด้วยจิตที่เป็นกุศล เพราะยึดติดในพระสุรเสียงของพระพุทธองค์ที่ทรงแสดงธรรมอยู่นั้น ก็ได้ส่งผลให้ได้ไปบังเกิดเป็นเทพบุตรอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีนามว่ามัณฑูกเทพบุตร พร้อมวิมานทองประมาณ ๑๒ โยชน์ แวดล้อมไปด้วยหมู่นางฟ้าสวรรค์
          มัณฑูกเทพบุตรเห็นตนเองอยู่ในหมู่นางฟ้า จึงคิดใคร่ครวญดูว่า เราได้เคยทำกรรมอะไรหนอถึงได้มาเกิด ณ.ที่แห่งนี้แล?
         จึงได้รู้ว่ากรรมอะไรๆที่เป็นกุศลอย่างอื่นก็ไม่เคยมี นอกเสียจากการถือเอานิมิตในพระสุรเสียงของพระพุทธองค์ที่ทรงแสดงธรรมอยู่ มัณฑูกเทวบุตรจึงลงมาจากสวรรค์พร้อมทั้งทิพยวิมาน ลอยลงมา ต่อหน้าประชาชนชาวนครจำปาทั้งหลายที่ฟังธรรมอยู่ แล้วเข้าเฝ้าถวายบังคมพระพุทธองค์
        พระผู้มีพระภาคตรัสถามมัณฑุกเทพบุตรว่า ใครหนอมีวรรณะงามยิ่งนัก รุ่งเรืองด้วยฤทธิ์และยศ ยังทิศทั้งปวงให้สว่างไสว ไหว้เท้าทั้งสองของเราอยู่?
       มัณฑูกเทวบุตร จึงกราบทูลพระพุทธองค์ว่า ข้าพระองค์ชื่อมัณฑูกเทวบุตร เมื่อชาติก่อน ข้าพระองค์เป็นกบเที่ยวหาอาหารอยู่ในน้ำ เมื่อข้าพระองค์กำลังฟังธรรมของพระองค์อยู่ คนเลี้ยงโคได้ฆ่าข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงดูฤทธิ์ ยศ อานุภาพ ผิวพรรณและความรุ่งเรืองของข้าพระองค์ผู้มีจิตเลื่อมใสในพระสุรเสียงของพระพุทธองค์ที่ทรงแสดงธรรมเพียงชั่วครู่หนึ่งเท่านั้น
        ข้าแต่พระโคดม ก็ผู้ใดได้ฟังธรรมของพระองค์สิ้นกาลนาน ผู้นั้นพึงได้บรรลุนิพพานอันเป็นฐานะไม่หวั่นไหว เป็นสถานที่ที่ไปแล้วไม่เศร้าโศกเป็นแน่
        ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ทรงแสดงธรรมแก่มัณฑูกเทวบุตร เมื่อมัณฑูกเทวบุตรได้ฟังธรรมจากพระพุทธองค์อีกหน ก็ได้บรรลุพระโสดาปัตติผล พร้อมทั้งเหล่าสัตว์อีกจำนวนแปดหมื่นสี่พันก็ได้บรรลุธรรมพร้อมมัณฑุกเทพบุตร ณ.ที่นั้นแล
กาลสมัย


 อวิชา(ความไม่รู้ในอริยสัจสี่)เป็นที่มาแห่งวงจรของทุกข์(ปฏิจจสมุปบาท)ยากที่สัตว์โลกจะหลุดรอดบ่วงทุกข์พ้นได้ ปํญญาดับทุกข์ได้ในทันใด เมื่อใดที่กระทบสัมผัส(ตากระทบรูป,หูกระทบเสียง,ลิ้นกระทบรส,จมูกกระทบกลิ่น,กายกระทบโผฎฐัพพะ,ใจกระทบธรรมารมณ์)แล้วดับที่ตัณหาสาม(กามตุณหา,ภวตัณหา,วิภวตัณหา)ทั้งปวง
 ปรัชญาชีวิตจาก...สุธี ศรีพระรัตนตรัย

พระมโหสถบัณฑิต


          ปัญญาแลประเสริฐกว่าทรัพย์ ปัญญาเป็นเหมือนแสงสว่าง ปัญญาเป็นดวงชวาลาของโลก ปัญญาเป็นดวงแก้วของคน บัณฑิตทั้งหลายกล่าวไว้ว่าปัญญาแลประเสริฐที่สุด ดุจดั่งดวงจันทร์ที่มีแสงรัมีมากกว่าหมู่ดาวทั้งปวง ดั่งเช่นเรื่องพระมโหสถที่ได้มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎก 
       ในอดีตกาลพระพุทธเจ้าได้เสวยพระชาติเป็นพระมโหสถ ในครั้งนั้นมีสตรีนางหนึ่งเพิ่งคลอดบุตร นางได้วางบุตรของนางไว้ที่ริมสระ แล้วลงไปที่สระ ฝ่ายนางยักษ์คิดอยากได้ทารกน้อย จึงได้แปลงกายเป็นหญิงแล้วมาอุ้มชิงบุตรของนางไป เมื่อสตรีที่เป็นมารดาของเด็กนั้นเห็นก็ขอคืน แต่นางยักษ์ไม่ยอมให้คืน กลับอ้างว่าเป็นบุตรของตน ทั้งสองฝ่ายให้ใครตัดสินก็ไม่มีใครสามารถตัดสินได้ จึงเดินทางไปหาพระมโหสถให้ช่วยตัดสิน พระมโหสถเห็นหน้าก็รู้ว่าไม่ใช่คน เป็นนางยักษ์ เพราะนัยน์ตาไม่มีแวว แต่ก็ต้องตัดสิ้นให้ชาวบ้านเห็นชัดแจ้ง จึงได้ให้คนขีดเส้นบนพื้นแล้วอุ้มทารกมาวางไว้ตรงกลางเส้นนั้น ให้นางยักษ์จับเด็กด้านศีรษะ ให้มารดาจับเด็กด้านเท้า แล้วสั่งให้ทั้ง ๒ หญิงนั้นฉุดดึงแย่งเด็กอย่างสุดแรง ถ้าเด็กเลื่อนเข้าไปที่ด้านใครมากกว่า คนผู้นั้นก็จะได้เด็กไป เมื่อทั้งสองดึงเด็กได้ครู่หนึ่งเด็กก็ร้องไห้ มารดาที่แท้จริงจึงหยุดดึงแล้วปล่อยมือ พระมโหสถจึงตัดสินว่า หญิงที่ปล่อยมือคือแม่ของเด็กที่แท้จริง เพราะด้วยเหตุที่ว่าโดยทั่วไปแล้วแม่ที่แท้จริงนั้นย่อมจะต้องกลัวบุตรของตนเจ็บ จะต้องปล่อยมือ นางยักษ์จึงรับสารภาพว่าตนไม่ใช่แม่ที่แท้จริงของเด็ก และยอมคืนเด็กนั้นให้กับมารดาที่แท้จริงไป การตัดสินปัญหาของพระมโหสถในครั้งนี้ ถือว่าเป็นปัญญาบารมี ที่พระพุทธองค์ได้ทรงบำเพ็ญไว้ในอดีตชาตินั่นแล

     เรากล่าวว่าท่านใดนำธรรมะเพียงแค่บางส่วนมากล่าวอ้าง นั่นแลหาเป็นบัณฑิตไม่(ของเทียมโดยแท้) ธรรมะมีหลายมิติ ส่วนท่านใดเข้าถึงได้หลายมุมหลายประตู ผู้นั้นแลเป็นยอดมหาบัณฑิต
ปรัชญาชีวิตจาก...สุธี ศรีพระรัตนตรัย
มตกภัตตชาดก(ว่าด้วยการฆ่าสัตว์ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย)



       ในอดีตชาตินานมาแล้ว ในครั้งนั้นพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี มีพราหมณ์คนหนึ่ง เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ที่มีชื่อเสียง วันหนึ่งท่านต้องการจะฆ่าสัตว์เซ่นไหว้บรรพบุรุษและผีไร้ญาติทั้งหลาย จึงสั่งให้ลูกศิษย์ไปจับแพะมาตัวหนึ่ง แล้วให้พาไปอาบน้ำ ประดับด้วยดอกไม้ต่างๆ เมื่อลูกศิษย์ได้อาบน้ำแพะเรียบร้อยแล้วจึงให้ยืนพักอยู่ที่ริบแม่น้ำนั้น จู่ๆ เจ้าแพะก็หัวเราะขึ้นเสียงดัง สักพักกลับร้องไห้โฮขึ้นมา พวกลูกศิษย์เห็นดังนั้นก็พากันประหลาดใจ จึงเอ่ยถามแพะขึ้นว่า “นี่เจ้าเป็นอะไรกัน ทำไมเดี๋ยวหัวเราะ เดี๋ยวร้องไห้ เจ้าแพะกล่าวว่า ถ้าท่านอยากรู้ ก็จงพาเราไปหาอาจารย์ของพวกท่านสิ แล้วเราจะบอก” พวกลูกศิษย์จึงจูงแพะไปหาอาจารย์และเล่าเรื่องทั้งหมดให้อาจารย์ฟัง เมื่ออาจารย์ได้ฟังเช่นนั้น จึงได้เอ่ยถามแพะว่า ไหนเจ้าจงบอกข้ามาซิว่าทำไมเจ้าจึงหัวเราะ สลับกับการร้องไห้เช่นนั้น”
       แพะจึงได้กล่าวว่า เมื่อกี้นี้เราเกิดระลึกชาติขึ้นมาได้ว่าชาติก่อนๆ โน้น เราก็เคยเกิดเป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์เหมือนกับท่าน แล้วได้ฆ่าแพะตัวหนึ่งเพื่อเซ่นไหว้ เพราะกรรมอันนั้นเอง จึงได้ส่งผลให้เราต้องไปเกิดเป็นแพะ และโดนเขาตัดศีรษะมาแล้วถึง 499 ชาติ และชาตินี้เป็นชาติที่ 500 แล้วเราจะได้พ้นเวรพ้นกรรมเสียที เลยทำให้เราหัวเราะดีใจ ส่วนที่ร้องไห้ก็เพราะเราสงสารท่าน ที่จะต้องไปชดใช้กรรมโดนตัดศีรษะถึง 500 ชาติเหมือนกับเรา อย่างไรเล่า”
เมื่อพราหมณ์ ได้ฟังดังนั้นก็เกิดความสลดใจ เกรงกลัวบาป จึงสั่งยกเลิกไม่ฆ่าแพะ และบอกกับแพะว่า เอาละข้าไม่ฆ่าเจ้าแล้ว เจ้ารอดตายแล้ว แพะส่ายหน้าพลางตอบว่า ถึงท่านไม่ฆ่าเรา เราก็ต้องตายในวันนี้อยู่ดี เพราะกรรมเก่าที่ทำไว้ในอดีตนั้นหนักมากกำลังจะให้ผล ถึงจะหนีกรรมอย่างไรก็หนีไม่พ้น
พราหมณ์กล่าวว่า “เจ้าไม่ต้องกลัวไปหรอก ข้าจะให้คนของข้าคอยติดตามไม่ให้ใครมาทำร้ายเจ้าได้ เพื่อเป็นการตอบแทนคุณที่เจ้าชี้หนทางสว่างแก่ข้า” ว่าแล้วพราหมณ์ก็ให้ปล่อยแพะไป โดยให้ลูกศิษย์คอยเดินติดตามอารักขาไปตลอดทาง แพะพอเขาปล่อย ก็ชะเง้อคอจะกินใบไม้ใกล้แผ่นหินแห่งหนึ่ง ทันใดนั้นเอง ฟ้าได้ผ่าลงที่แผ่นหิน สะเก็ดหินชิ้นหนึ่งได้ปลิวไปตัดคอแพะที่กำลังชะเง้อคออยู่พอดี แพะล้มลงสิ้นใจตายทันที
       พระโพธิสัตว์ซึ่งบังเกิดเป็นรุกขเทวดาอยู่ในที่นั้น เห็นเหตุการณ์จึงปรากฏกายลอยอยู่ในอากาศ แล้วแสดงธรรมแก่มหาชนทั้งหลายว่า “เมื่อท่านเห็นผลของบาปเช่นนี้แล้ว จงอย่าฆ่าสัตว์อีกเลย เพราะผู้มีปกติฆ่าสัตว์ย่อมเศร้าโศกตลอดกาล”
         มหาชนทั้งหลายพอได้ฟังธรรมเช่นนั้นแล้ว ก็เกิดกลัวภัยในนรก ต่างพากันงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ และตั้งมั่นอยู่ในศีล ๕ หมั่นทำบุญทำทานและรักษาศีลตลอดชีวิต หลังจากตายไปแล้ว ต่างก็ได้ไปบังเกิดอยู่ในสวรรค์ ส่วนรุกขเทวดาในครั้งนั้นก็ได้บำเพ็ญบารมีต่อเนื่องเรื่อยมา และชาติสุดท้ายก็ได้มาเกิดเป็นพระพุทธเจ้าของเรานั่นเอง

      อัญมณีภายนอก คือเพชร นิล จินดา แก้ว แหวน เงินตรา ถึงแม้จะมีค่าและมีมากมายก่ายกองสักเพียงแค่ไหน ก็ไม่สำคัญเท่ากับอัญมณีที่คล้องภายในใจ (โพธิปักขิยธรรม37)แสดงไว้โดยพระพุทธองค์
ปรัชญาชีวิตจาก...สุธี ศรีพระรัตนตรัย

บุพกรรมของภรรยนายเรือ


         ในครั้งพุทธกาล มีภิกษุจำนวนหนึ่งได้โดยสารเรือไป เพื่อต้องการที่จะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ในขณะที่เรือกำลังแล่นอยู่กลางทะเลนั้นก็ต้องมีอันเป็นไป เพราะอยู่ดีๆเรือก็ได้หยุดนิ่งเฉย พวกที่โดยสารมากับเรือต่างพากันคิดว่า นี่เป็นเพราะเหตุไรหนอเรือจึงหยุดแล่นได้ หรือว่าจะต้องมี"คนกาลกิณี อยู่ในเรือนี้เป็นแน่แท้" จึงได้ประชุมกัน หารือถึงสาเหตุที่เรือไม่ยอมแล่นต่อไป ณ.ที่นั้นจึงตกลงกันว่า ให้แจกสลากให้จับกัน ว่าใครหนอแลที่เป็นคนกาลกิณี
         ภรรยาของนายเรือจับได้สลาก พวกมนุษย์ต่างพากันกล่าวว่า "จงแจกสลากใหม่อีก" แล้วให้แจกใหม่ถึง ๓ ครั้ง ภรรยาสาวของนายเรือก็จับได้สลากนั้นคนเดียวถึง๓ครั้ง นายเรือปกตินั้นเป็นคนที่รักภรรยามาก แต่เพื่อรักษาชีวิตของคนที่โดยสารมาในเรืออีกเป็นจำนวนมาก จึงได้ตัดใจ ยอมให้โยนภรรยาของตนทิังลงน้ำไป แต่ไม่อยากจะเห็นภรรยาลอยคออยู่ในน้ำเพื่อส่งเสียงร้องขอชีวิต จึงได้ให้คนเหล่านั้นเอากระออมใส่ทรายมาผูกติดที่คอนาง แล้วจึงจับนางโยนลงไปในน้ำ จมน้ำตายลงในที่สุด
         ฝ่ายพระภิกษุสงฆ์เหล่านั้นที่โดยสารมาด้วย เห็นเหตุการณ์ดังกล่าว คิดว่าอะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ คงจะไม่มีใครที่จะรู้บุพกรรมของผู้หญิงคนนี้ได้ เว้นเสียแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น อย่ากระนั้นเลย พวกเราจะไปทูลถามพระพุทธองค์
      ครั้นพระภิกษุสงฆ์เหล่านั้น เมื่อได้เดินทางไปถึงพระวิหารเชตวัน จึงไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลเรื่องราวดังกล่าวให้ทรงทราบ ซึ่งพระผู้มีพระภาคได้ทรงตรัสแก่เหล่าบรรดาพระภิกษุเหล่านั้นว่า หญิงนั้นได้เสวยกรรมที่ตนได้เคยกระทำไว้แล้วในอดีตชาตินั่นเอง คือหญิงนั้นในอดีตชาติ เคยเกิดเป็นภรรยาของชาวนาคนหนึ่งในกรุงพาราณสี ได้ทำกิจทุกอย่าง มีตักน้ำ ซ้อมข้าว ปรุงอาหารเป็นต้น ด้วยมือของนางเอง และในบ้านของนางมีสุนัขตัวหนึ่งที่นางเลี้ยงไว้ สุนัขตัวนั้นมีความผูกพันกับนางเป็นอย่างมาก เวลานางจะไปไหนหรือทำอะไร เจ้าสุนัขตัวนั้นก็จะเดินตามนางไปทั่วทุกหนทุกแห่ง พวกคนทั้งหลายเห็นดังนั้น ต่างก็พากันนินทาหาว่านางมีอะไรกับสุนัขตัวนั้น บางพวกก็หัวเราะเยาะเย้ยนางว่า ‘แน่ะพ่อพรานสุนัขมาแล้ว นางจึงไล่สุนัขนั้นด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง เพื่อให้เจ้าสุนัขนั้นหนีไป แต่เจ้าสุนัขนั้นมันวิ่งหนีไปแล้ว ประเดี๋ยวมันก็วิ่งตามมาอีก เป็นอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา (สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะในอดีตชาติเจ้าสุนัขตัวนี้เคยเป็นสามีของนางมาก่อนนั่นเอง)
       นางโกรธสุนัขตัวนี้มาก วันหนึ่งนางได้นำข้าวไปส่งสามีที่นา จึงได้เอาเชือกใส่ไว้ในชายพกผ้าที่นางนุ่งอยู่ เจ้าสุนัขตัวนั้นก็เดินตามนางไปเหมือนเช่นเคย เมื่อสามีของนางทานข้าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว นางก็ถือกระออมเปล่าไปสู่ท่าน้ำแห่งหนึ่ง แล้วบรรจุทรายให้เต็มกระออม แล้วเรียกเจ้าสุนัขตัวนั้นให้เข้ามาใกล้ๆ สุนัขตัวนั้นดีใจว่านานแล้วหนอเจ้านายของเราไม่เคยใช้ถ้อยคำที่ไพเราะกับเราเลย จึงกระดิกหางและวิ่งเข้าไปหานางโดยเร็ว นางก็จับที่คอของสุนัขนั้นไว้ เอาปลายเชือกอีกข้างหนึ่งผูกที่คอสุนัข แล้วผลักกระออมให้กลิ้งลงน้ำไป เจ้าสุนัขตัวนั้นก็ติดไปด้วยกับกระออมนั้น ตกลงไปในน้ำ และก็ตายในน้ำนั่นเอง
          และด้วยผลบาปกรรมที่นางได้ทำในครั้งนั้นนั่นเอง ก็ได้ส่งผลให้นางต้องไปตกอยู่ในนรกหมกไหม้สิ้นกาลนาน เมื่อพ้นจากนรกขึ้นมาได้ และด้วยเศษกรรมที่เหลืออยู่ นางก็ได้มาเกิดเป็นภรรยาของนายเรือ (ส่วนหมาตัวนั้นก็ได้เกิดมาเป็นนายเรือ) และด้วยผลบาปกรรมที่นางได้จับหมาตัวนั้นถ่วงน้ำในอดีตชาตินั่นเอง จึงทำให้นางต้องถูกเขาจับผูกติดกับกระออมอันที่เต็มไปด้วยทรายผูกคอโยนทิ้งทะเลตาย ด้วยประการฉะนี้
    
       สุุุุขหรือทุกข์ ไม่ยึดติด จิตสบาย อยู่ได้ด้วยอตัมมยตา(มีสติระลึกรู้ตลอดเวลา ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสังขารธรรมทั้งปวง)
ปรัชญาชีวิตจาก...สุธี ศรีพระรัตนตรัย

มกสชาดก(พ่อค้าโพธิสัตว์)


      คนโง่ถ้ารู้ตัวว่าโง่และหมั่นสอบถามบัณฑิต ก็อาจเป็นคนที่ฉลาดกับเขาได้บ้าง แต่ถ้าเกิดเป็นคนโง่แล้วกับเย่อหยิ่งอวดฉลาด นั่นคือโง่แท้ หากทำอะไรลงไปโดยไม่รู้ก็อาจเกิดความหายนะขึ้นมาได้ ดั่งเช่นเรื่องมกสชาดก(พ่อค้าโพธิสัตว์)ที่ได้มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎก  
      ในครั้งอดีตพระโพธิสัตว์เลีี้ยงชีวิตด้วยการค้า ครั้งนั้นที่บ้านชายแดนแห่งหนึ่งในแคว้นกาสี มีพวกช่างไม้อาศัยอยู่มาก ช่างไม้หัวล้านคนหนึ่งกำลังตากไม้ ขณะนั้นมียุงตัวหนึ่งบินมาจับที่ศีรษะ ซึ่งคล้ายกับกระโหลกทองแดงคว่ำ แล้วกัดศีรษะด้วยจะงอยปาก เหมือนกับประหารด้วยหอก ช่างไม้จึงบอกลูกของตนผู้นั่งอยู่ใกล้ๆว่าไอ้หนูยุงมันกัดศีรษะพ่อ เจ็บเหมือนถูกแทงด้วยหอก จงฆ่ามันเสีย ลูกพูดว่าพ่อจงอยู่นิ่งๆ ฉันจะฆ่ามันด้วยการตบครั้งเดียวเท่านั้น แม้ในเวลานั้นพ่อค้าโพธิสัตว์ก็กำลังเที่ยวแสวงหาสินค้าของตนอยู่ ลุถึงหมู่บ้านนั้น นั่งพักอยู่ในโรงของช่างไม้นั้น เป็นเวลาเดียวกันกับที่ช่างไม้นั้นบอกลูกว่า ไอ้หนูไล่ยุงนี้ที ลูกขานรับว่าจ่ะพ่อฉันจะไล่มัน พูดพลางก็เงื้อขวานเล่มใหญ่คมกริบ ยืนอยู่ข้างหลังพ่อ ฟันลงมาเต็มที่ ด้วยคิดว่าจักประหารยุง เลยผ่าสมองของบิดาเสียสองซีก ช่างไม้ถึงความตายในที่นั้นเอง.
       พระโพธิสัตว์เห็นการกระทำของลูกช่างไม้แล้วได้คิดว่า ถึงศัตรูที่ฉลาดยังดีกว่า เพราะเขายังเกรงอาญาแผ่นดินไม่ถึงกับฆ่ามนุษย์ได้ แล้วกล่าวคาถานี้ความว่า “ ศัตรูผู้มีความรู้ประเสริฐกว่ามิตรผู้ปราศจากความรู้ ไม่ประเสริฐเลย เพราะลูกชายผู้โง่เขลาคิดว่าจักฆ่ายุง กลับผ่าหัวของพ่อเสีย”ดังนี
พระโพธิสัตว์ ครั้นกล่าวคาถานี้แล้วก็ลุกขึ้นไปทำงานตามหน้าที่.แม้พวกที่เป็นญาติก็ได้จัดการทำศพของช่างไมพระบรมศาสดาครั้นได้ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ก็ทรงตรัสว่าพ่อค้าบัณฑิตในครั้งนั้น ได้มาเกิดเป็นเราตถาคตนี้นี่เอง
 


      รับฟัง รับทราบ และคิด แต่ถ้าเป็นคำสั้่งที่เป็นไปโดยมิชอบมิสุจริต ก็ขอสงวนสิทธิ์ ไม่คิดที่จะปฏิบัติตาม
ปรัชญาชีวิตจาก...สุธี ศรีพระรัตนตรัย

อานิสงส์ของการยับยั้งความโกรธ


     ในครั้งพุทธกาล มีภิกษุรูปหนึ่ง ประสงค์จะสร้างกุฏิ จึงแบกขวานเข้าไปในป่า พอเลือกต้นไม้ที่ถูกใจได้แล้ว ก็ลงมือตัดต้นไม้นั้นทันที เทพนารีที่สิงสถิตย์อยู่ในต้นไม้นั้น จึงแสดงตนเป็นหญิงอุ้มลูกอ่อนมาวิงวอนว่า “พระคุณเจ้า ขอท่านอย่าได้ตัดต้นไม้ซึ่งเป็นวิมานที่อยู่อาศัยของข้าพเจ้าเลย ได้โปรดเอ็นดูข้าพเจ้าด้วยเถิด” ภิกษุรูปนั้นไม่ยอมฟัง กลับตั้งหน้าตั้งตาตัดต้นไม้ต่อไป
ครั้นเทพนารีซึ่งเป็นนางไม้นั้น เห็นภิกษุไม่เชื่อฟัง จึงให้บุตรไปปรากฏกายใกล้ๆ กับที่ภิกษุกำลังฟันโคนต้นไม้ ด้วยหวังว่า หากพระเห็นบุตรของตนแล้วคงจะหยุดตัด แต่เหตุการณ์ไม่เป็นเช่นนั้น เพราะเมื่อภิกษุมองเห็นก็ยั้งขวานไม่ทันแล้ว ขวานที่เงื้อฟันลงไป จึงตัดแขนบุตรของเทพธิดาขาดกระเด็นทันที พระภิกษุตกตะลึงปล่อยขวานหลุดจากมือด้วยคาดไม่ถึงในเหตุการณ์ณ์ที่เกิดขึ้นนั้น
      เทพธิดาโกรธสุดขีด คิดจะฆ่าพระภิกษุ เงื้อมือขึ้นจะประหารด้วยความลืมตัว ทันใดนั้นเองนึกถึงรุกขธรรมว่า “ถ้าเราฆ่าพระ เราก็จะต้องไปตกในมหานรก อย่ากระนั้นเลย เราไปเข้าเฝ้าแล้วทูลเรื่องราวดังกล่าวให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทราบจะดีกว่า” เทพธิดาจึงได้ไปเข้าเฝ้าและกราบทูลเรื่องราวดังกล่าวให้พระพุทธองค์ทราบ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทราบเรื่องราวดังกล่าว จึงได้กล่าวสรรเสริญนางเทพธิดานั้นซึ่งมีใจความว่า “บุคคลใดหักห้ามความโกรธที่เกิดขึ้นให้หยุดได้ เหมือนคนขับรถห้ามล้อรถที่กำลังวิ่งไปโดยเร็วให้หยุดได้ เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นสารถี ส่วนสารถีคนขับรถในโลกนี้ ยังไม่ใช่สารถี เป็นเพียงคนถือเชือกเท่านั้น”
      เมื่อจบพระคำเทศนา เทพนารีท่านนั้นก็ได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงได้ให้เทพธิดานั้น เข้าไปสิงสถิตอยู่ในต้นไม้ซึ่งอยู่ภายในกำแพงวัดพระเชตวัน ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยเก่าของเทวบุตร ซึ่งได้จุติไปแล้ว และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เทพนารีก็ได้รับความคุ้มครองจากพระพุทธเจ้า และได้เป็นพุทธอุปัฏฐายิกาและได้ฟังธรรมจากพระโอษฐของพระผู้มีพระเจ้าอย่างแจ่มแจ้ง ณ.ที่นั่นแล

     สุขใดที่ใจใฝ่หา สุขนั้นหนาหาได้ที่ใจ ใจที่คอยอบรมคอยดูแล(เจริญวิปัสนา) ใจนั่นแลเป็นกุญแจที่จะไขไปสู่ความสุข ความสงบ ความเย็นสบาย
ปรัชญาชีวิตจาก...สุธี ศรีพระรัตนตรัย
พระปิลินทวัจฉเถระ

       เช้าวันหนึ่งในครั้งพุทธกาลท่านพระปิลินทวัจฉะได้ครองอันตรวาสกแล้วถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังตำบลบ้านปิลินทวัจฉะ สมัยนั้นในตำบลบ้านนั้นมีมหรสพ พวกเด็กๆตกแต่งกายประดับดอกไม้เล่นมหรสพอยู่พอดี ท่านพระปิลินทวัจฉะเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับตรอกในตำบลบ้านปิลินทวัจฉะ ได้เข้าไปถึงเรือนคนทำการวัคผู้หนึ่ง ครั้นแล้วนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย ขณะนั้นธิดาของสตรีผู้ทำการวัดนั้น เห็นเด็กๆพวกอื่นตกแต่งกายประดับดอกไม้แล้วร้องอ้อนว่า ขอจงให้ดอกไม้แก่ดิฉัน ขอจงให้เครื่องตกแต่งกายแก่ดิฉัน ท่านเพระปิลินทวัจฉะจึงถามสตรีผู้ทำการวัดคนนั้นว่า เด็กหญิงคนนี้ร้องอ้อนอยากได้อะไร?
       นางกราบเรียนว่า ท่านเจ้าข้า เด็กหญิงคนนี้เห็นเด็กๆพวกอื่นตกแต่งกาย ประดับดอกไม้ จึงร้องอ้อนขอว่า ขอจงให้ดอกไม้แก่ดิฉัน ขอจงไห้เครื่องตกแต่งกายแก่ดิฉัน ดิฉันบอกว่าเราเป็นคนจนจะได้ดอกไม้มาจากไหน จะได้เครื่องตกแต่งมาจากไหน?
        ขณะนั้นท่านพระปิลินทวัจฉะหยิบขดหญ้าพวกหนึ่งส่งไห้แล้วกล่าวว่า เจ้าจงสวมขดหญ้าพวงนี้ลงบนศีรษะเด็กหญิงนั้น ทันใดนั้นนางได้รับขดหญ้าสวมลงที่ศีรษะเด็กหญิงนั้น ขดหญ้านั้นได้กลายเป็นระเบียบดอกไม้ทองคำงามมาก น่าดู น่าชม ระเบียบดอกไม้ทองคำเช่นนั้น แม้ในพระราชฐานก็ไม่มี
          คนทั้งหลายกราบทูลแด่พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชว่า ขอเดชะ ระเบียบดอกไม้ทองคำที่เรือนของคนทำการวัดชื่อโน้นงามมาก น่าดู น่าชม แม้ในพระราชฐานก็ไม่มี เขาเป็นคนเข็ญใจจะได้มาแค่ไหน เป็นต้องได้มาด้วยโจรกรรมแน่นอน จึงท้าวเธอสั่งให้จองจำตระกูลคนทำการวัดนั้นไว้
        ครั้นเช้าวันที่ ๒ ท่านพระปิลินทวัจฉะครองอันตรวาสกแล้วถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตถึงตำบลบ้านปิลินทวัจฉะ เมื่อเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับตรอกในตำบลบ้านปิลินทวัจฉะ ได้เดินผ่านไปทางเรือนคนทำการวัดผู้นั้น ครั้นแล้วได้ถามคนที่คุ้นเคยกันว่าตระกูลคนทำการวัดไปไหนเสีย?
     คนพวกนั้นกราบเรียนว่า เขาถูกรับสั่งให้จองจำเพราะเรื่องระเบียบดอกไม้ทองคำเจ้าข้า ทันใดนั้นท่านพระปิลินทวัจฉะได้เข้าไปสู่พระราชนิเวศน์ นั่งเหนืออาสนะที่เขาจัดถวา ขณะนั้นพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชเสด็จเข้าไปหา ท่านพระปิลินทวัจฉะทรงอภิวาทแล้วประทับเหนือพระราชอาสน์อันควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระปิลินทวัจฉะได้ทูลถามพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชผู้ประทับเรียบร้อยแล้วดังนี้ว่า ขอถวายพระพร ตระกูลคนทำการวัดถูกรับสั่งให้ จองจำด้วยเรื่องอะไร?
      พระเจ้าพิมพิสารตรัสตอบว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า เพราะที่เรือนของเขามีระเบียบดอกไม้ทองคำอย่างงามมาก น่าชม แม้ที่ในวังก็ยังไม่มี เขาเป็นคนจนจะได้มาแต่ไหน เป็นต้องได้มาด้วยโจรกรรมอย่างแน่นอน ขณะนั้นท่านพระปิลินทวัจฉะได้อธิษฐานปราสาทของพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคราชว่า จงเป็นทอง ปราสาทนั้นได้กลายเป็นทองไปทั้งหมด แล้วได้ถวายพระพรถามว่า ขอถวายพระพร ก็นี่ทองมากมายเท่านั้น มหาบพิตรได้มาแค่ไหน
       พระเจ้าพิมพิสารตรัสว่า ข้าพเจ้าทราบแล้ว นี้เป็นอิทธานุภาพของพระคุณเจ้า ดังนี้แล้วรับสั่งให้ปล่อยตระกูลคนทำการวัดนั้นพ้นพระราชอาญาไป
         ฉะนั้นเราจะเห็นกันได้ว่า ด้วยอำนาจของจิตที่เป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ย่อมที่จะสามารถบันดาลได้ทุกอย่าง ย่อมโน้มน้อมไปเพื่อได้อภิญญา(ฤทธิ์,หูทิพย์,รู้ใจคนอื่น,ระลึกชาติได้,ตาทิพย์)อย่างเช่นท่านพระปิลินทวัจฉะที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

     ดอกไม้ดีมีราคาย่อมมีกล่นหอมและสีสวยน่ารื่นรมย์ต่อผู้พบเห็นฉันใด คนดีมีราคาย่อมต้องมีศีลและปัญญาเป็นเครื่องประดับตกแต่งร่างกายฉันนั้น
ปรัชญาชีวิตจาก...สุธี ศรีพระรัตนตรัย